วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วย นิราศภูเขาทอง
เรื่อง คำพ้องและการตีความคำยากโดยใช้บริบท                                                      เวลา    ชั่วโมง

 
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
          มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาใน     การดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
          ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ม. ๑/๕ ตีความคำยากในเอกสารวิชาการโดยพิจารณาจากบริบท
          มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
          ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม. ๑/๒ สร้างคำในภาษาไทย
สาระสำคัญ
      การเข้าใจประเภทของคำพ้องที่ใช้ในคำประพันธ์ทำให้เข้าใจความหมายของคำศัพท์ได้ชัดเจนขึ้น และการใช้บริบทช่วยพิจารณาความหมายของคำศัพท์บางคำ ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบความหมายโดยตรงได้จากพจนานุกรม จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำประพันธ์นั้นได้ถูกต้องและชัดเจน                                                                                                                     
จุดประสงค์การเรียนรู้
          ๑. อธิบายความหมายของคำศัพท์ที่กำหนด

          ๒. ตีความคำยากจากนิราศภูเขาทองโดยพิจารณาจากบริบท
          ๓. วิเคราะห์ประเภทของคำพ้องในคำประพันธ์
    ๔.เห็นความสำคัญของการเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้ในคำประพันธ์                                                                  
สาระการเรียนรู้
         ๑. การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบท
         ๒. คำพ้อง
กิจกรรมการเรียนรู้
         ๑. ให้นักเรียนอ่านคำจากบัตรคำที่ครูติดบนกระดานทีละคู่ เช่น
                         จอกแหน                                           หวงแหน
                      ปรากฏการณ์                                        ฤดูกาล
                        สลัดผัก                                             สลัดน้ำ
                     ดวงอาทิตย์                                            ดวงตะวัน
         ๒. ให้นักเรียนสังเกตคำเหล่านั้นและช่วยกันอธิบายตามความเข้าใจ
         ๓. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง คำพ้อง แล้วร่วมกันสรุปความเข้าใจ ครูเป็นผู้อธิบายเพิ่มเติม
         ๔. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๔ กลุ่ม ระดมความคิดเพื่อยกตัวอย่างคำพ้องที่นักเรียนรู้จักแต่ละประเภท ดังนี้
                        กลุ่มที่         คำพ้องรูป
                        กลุ่มที่        คำพ้องเสียง
                        กลุ่มที่        คำพ้องรูปพ้องเสียง
                        กลุ่มที่        คำพ้องความหมาย
         ๕. นักเรียนส่งตัวแทนออกมาเขียนคำที่รวบรวมได้บนกระดาน นักเรียนทุกคนร่วมกันตรวจสอบและอธิบายความหมาย
         ๖. นักเรียนอ่านคำประพันธ์จากนิราศภูเขาทองที่ครูนำมาติดบนกระดาน ช่วยกันพิจารณาคำที่ขีดเส้นใต้ว่าเป็นคำพ้องประเภทใด

                        ๑)     ออกจากวัดทัศนาดูอาวาส                 (คำพ้องความหมาย)
                        ๒)    โอ้อาวาสราชบุรณะพระวิหาร                        (คำพ้องความหมาย)
                        ๓)    จึ่งอำลาอาวาสนิราศร้าง                                   (คำพ้องความหมาย)
                        ๔)    ถึงบางจากจากวัดพลัดพี่น้อง                           (คำพ้องรูปพ้องเสียง)
                        ๕)    จำต้องขืนใจพรากมาจากเมือง                        (คำพ้องความหมาย)          
                        ๖)     ถึงเขมาอารามอร่ามทอง                                  (คำพ้องรูป กับ โกฐเขมา)
                        ๗)    เห็นโศกใหญ่ใกล้น้ำระกำแฝง                        ทั้งรักแซงแซมสวาด *ประหลาดเหลือ
                                  เหมือนโศกพี่ที่ช้ำระกำเจือ                              เพราะรักเรื้อแรมสวาทมาคลาดคลาย
                                  โศก - โศก           ระกำ - ระกำ                        (คำพ้องรูปพ้องเสียง)
                                  สวาด - สวาท                                                      (คำพ้องเสียง)
                        ๘)    ถึงบางหลวงเชิงรากเหมือนจากรัก                สู้เสียศักดิ์สังวาสพระศาสนา
                                  เป็นล่วงพ้นรนราคราคา                                   ถึงนางฟ้าจะให้ไม่ไยดี
                                  (คำพ้องเสียง)
                        ๙)     ด้วยหนามดกรกดาษระดะตา                          นึกก็น่ากลัวหนามขามขามใจ
                                  (คำพ้องความหมาย)
                     ๑๐)      ในทุ่งกว้างเห็นแต่แขมแซมสลอน                (คำพ้องรูปพ้องเสียง กับ แขม (ขะแม))
         ๗. ให้นักเรียนช่วยกันอธิบายความหมายของคำพ้องเหล่านั้น ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม และตรวจสอบจากพจนานุกรม
         . ให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบท แล้วร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
         ๙. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ คือ การเข้าใจประเภทของคำพ้องที่ใช้ในคำประพันธ์ทำให้เข้าใจความหมายของคำศัพท์ได้ชัดเจนขึ้น และการใช้บริบทช่วยพิจารณาความหมายของคำศัพท์บางคำ     ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบความหมายโดยตรงได้จากพจนานุกรม จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำประพันธ์นั้นได้ถูกต้องและชัดเจน
         ๑๐. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า “การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบทมีประโยชน์ต่อการอ่านในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง”
สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
         ๑. บัตรคำ
         ๒. แถบข้อความ
         ๓. พจนานุกรม
         ๔. ใบงาน
การวัดและประเมินผล
   วัดและประเมินผล
          ๑. ตรวจใบงาน เรื่อง การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบท
          ๒. ประเมินจากการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
   เครื่องมือวัดและประเมินผล
          ๑. ใบงาน เรื่อง การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบท
          ๒. แบบประเมินการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

2 ความคิดเห็น: