แผนการจัดการเรียนรู้ที่
๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๑
หน่วย
นิราศภูเขาทอง
เรื่อง
ปริศนาศัพท์ลับปัญญา เวลา ๑
ชั่วโมง
![]() |
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน
ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
และมีนิสัยรักการอ่าน
ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ม. ๑/๔ ระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบและคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่าง
ๆ จากการอ่าน
สาระสำคัญ
การเข้าใจความหมายของคำศัพท์จะทำให้ศึกษาวรรณคดีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. อธิบายความหมายของคำศัพท์ในนิราศภูเขาทอง
๒. เขียนคำศัพท์ในนิราศภูเขาทองตามความหมายที่กำหนด
๓.เห็นความสำคัญของการเข้าใจความหมายคำศัพท์เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาวรรณคดี
สาระการเรียนรู้
๑. คำศัพท์ในนิราศภูเขาทอง
กิจกรรมการเรียนรู้
๑. นักเรียนร่วมกันสนทนาในหัวข้อ “นักเรียนรู้จักสุนทรภู่อย่างไรบ้าง”
๒. ให้นักเรียนอ่านบทนำเรื่องนิราศภูเขาทอง
แล้วร่วมกันสนทนาในประเด็นต่อไปนี้
- นิราศภูเขาทองเป็นบทประพันธ์ของกวีท่านใด
- วรรณคดีที่แต่งเป็นนิราศมีลักษณะเด่นอย่างไร
- ที่มาของนิราศภูเขาทองเป็นอย่างไร
- นักวรรณคดีเปรียบเทียบนิราศภูเขาทองกับนิราศเมืองแกลงไว้อย่างไร
- “นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจ” หมายความว่าอย่างไร
๓. ครูอธิบายเพิ่มเติมและให้นักเรียนบันทึกสาระสำคัญ
๔. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๑๐ กลุ่ม
แข่งขันค้นหาคำศัพท์จากนิราศภูเขาทองที่มีความหมายตรงกับที่กำหนด
ครูแบ่งความหมายให้นักเรียนหาคำศัพท์กลุ่มละ ๕ คำ
กลุ่มใดหาคำศัพท์ครบให้พูดพร้อมกันว่า “สำเร็จ” ครูบันทึกลำดับไว้จนเสร็จครบทุกกลุ่ม
๕.
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาอ่านความหมายที่ได้รับพร้อมเฉลยคำศัพท์
นักเรียนทุกคนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องและเขียนคำศัพท์ลงในตารางปริศนาอักษรไขว้
ดำเนินกิจกรรมเช่นนี้จนครบทุกกลุ่ม
กลุ่มใดหาคำศัพท์ได้ถูกต้องทุกคำโดยใช้เวลาน้อยที่สุด ๓ อันดับแรก
จะได้รับคะแนนพิเศษ
๖. ให้นักเรียนรวมกลุ่มให้เหลือ ๕
กลุ่ม ส่งตัวแทนออกมาจับฉลากหัวข้อเพื่อค้นหาและรวบรวมคำศัพท์จากนิราศภูเขาทองเป็นหมวดหมู่
ดังนี้
- ชื่อสัตว์ - ชื่อพืช - ชื่อสิ่งของเครื่องใช้
- ชื่อสิ่งก่อสร้าง - ชื่อสถานที่
๗. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาอ่านชื่อที่รวบรวมได้ให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน
ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม
๘. ให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ให้ตรงกับภาพที่กำหนด
ทุกคนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
๙. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้
ดังนี้ การเข้าใจความหมายของคำศัพท์จะทำให้ศึกษาวรรณคดีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
๑. ฉลาก
๒. พจนานุกรม
การวัดและประเมินผล
วัดและประเมินผล
๑. ตรวจผลงานนักเรียน
๒. สังเกตจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
เครื่องมือวัดและประเมินผล
๑. ผลงานนักเรียน
๒. แบบสังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น