วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

หน่วย นิราศภูเขาทอง

เรื่อง สรรคำหลากลักษณะ : คำประสม                                                             เวลา    ชั่วโมง

 

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

             มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

             ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม. ๑/๒ สร้างคำในภาษาไทย

สาระสำคัญ

          คำประสมเกิดจากการนำคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน แล้วเกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่ หรือยังคงมีเค้าความหมายของคำเดิม การสร้างคำประสมทำให้ภาษาไทย มีคำใช้เพิ่มมากขึ้น                                               

จุดประสงค์การเรียนรู้

          ๑. อธิบายลักษณะ ประเภท และความหมายของคำประสม

          ๒. สร้างคำประสม

    ๓.เห็นความสำคัญของการสร้างคำในภาษาไทยที่ทำให้มีคำใช้เพิ่มมากขึ้น                                          

สาระการเรียนรู้

         ๑. คำประสม

กิจกรรมการเรียนรู้

         ๑. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเรื่องการสร้างคำในภาษาไทย ว่าสร้างขึ้นได้อย่างไร

         ๒. ให้นักเรียนอ่านคำจากบัตรคำ เช่น

                       ๑) มือถือ                        ๒) หัวใจ                               ๓) กันชน                 ๔) รถไฟฟ้า

                       ๕) เปรี้ยวปาก               ๖) ตีบทแตก                         ๗) แก้ตัว

         ๓. ให้นักเรียนช่วยกันอธิบายความหมายของคำแต่ละคำ จากนั้นลองสังเกตความหมายของแต่ละพยางค์เพื่อเปรียบเทียบกับความหมายของคำว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

         ๔. ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย และการประกอบคำประเภทคำประสม    แล้วร่วมกันสนทนาในประเด็นต่อไปนี้

                        -      คำประสมมีลักษณะอย่างไร

                        -      คำประสมมีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างคำ

                        -      คำประสมที่สร้างขึ้นมีความหมายในลักษณะใดบ้าง พร้อมยกตัวอย่างคำ

                        ครูอธิบายเพิ่มเติมและให้นักเรียนบันทึกสาระสำคัญ


         ๕. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕ - ๖ คน แข่งขันสร้างคำประสมโดยใช้คำที่กำหนดภายในเวลา         ที่กำหนด เช่น รอบละ ๑ นาที ให้นักเรียนเขียนคำที่คิดได้ลงในกระดาษที่ครูแจกเมื่อหมดเวลา ทุกคนต้องวางปากกา หากสมาชิกของกลุ่มใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับแพ้ในรอบนั้นทันที จากนั้นทุกกลุ่มจะส่งตัวแทนออกมาหน้าชั้นเรียนเพื่ออ่านคำที่คิดได้ให้เพื่อนฟัง แล้วร่วมกันพิจารณาว่าเป็นคำประสมหรือไม่ คำที่ถูกต้องจะได้คำละ ๑ คะแนน ครูบันทึกคำประสมของนักเรียนที่ไม่ซ้ำกันไว้บนกระดาน รวมคะแนนของแต่ละกลุ่มในรอบนั้น แล้วเริ่มการแข่งขันรอบต่อไป

                        คำตั้งต้นที่ใช้สำหรับการแข่งขัน เช่น

                        ลูก                   ลูกเสือ         ลูกช้าง         ลูกน้อง         ลูกทุ่ง               ลูกมือ          ฯลฯ

                        ใจ                    เบาใจ           อ่อนใจ         ใจเย็น           กินใจ               น้ำใจ            ฯลฯ

                        ปาก                ปากแข็ง      ปากจัด         ปากน้ำ          ปากหวาน       ปิดปาก        ฯลฯ

                        หัว                  เล่นหัว        หัวหน้า       หัวสูง            หัวปี                 หัวป่า           ฯลฯ

                        เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน ทุกกลุ่มรวมคะแนน ครูชมเชยกลุ่มที่ได้คะแนนมากที่สุดตามลำดับ

         ๖. ให้นักเรียนอ่านคำประสมบนกระดานที่ครูบันทึกไว้อีกครั้ง แล้วช่วยกันอธิบายความหมายของคำประสมที่ยังไม่ทราบความหมาย ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม

         ๗. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เรื่องคำประสม คือ คำประสมเกิดจากการนำคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันแล้วเกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่ หรือยังคงมีเค้าความหมายของคำเดิม การสร้างคำประสมทำให้ภาษาไทยมีคำใช้เพิ่มมากขึ้น

สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

         ๑. บัตรคำ

         ๒. กระดาษสำหรับทำกิจกรรม

การวัดและประเมินผล

   วัดและประเมินผล

          ๑. ตรวจผลงานนักเรียน

          ๒. สังเกตจากการปฏิบัติงานกลุ่ม

   เครื่องมือวัดและประเมินผล

          ๑. ผลงานนักเรียน

          ๒. แบบสังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วย นิราศภูเขาทอง
เรื่อง คำพ้องและการตีความคำยากโดยใช้บริบท                                                      เวลา    ชั่วโมง

 
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
          มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาใน     การดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
          ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ม. ๑/๕ ตีความคำยากในเอกสารวิชาการโดยพิจารณาจากบริบท
          มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
          ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม. ๑/๒ สร้างคำในภาษาไทย
สาระสำคัญ
      การเข้าใจประเภทของคำพ้องที่ใช้ในคำประพันธ์ทำให้เข้าใจความหมายของคำศัพท์ได้ชัดเจนขึ้น และการใช้บริบทช่วยพิจารณาความหมายของคำศัพท์บางคำ ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบความหมายโดยตรงได้จากพจนานุกรม จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำประพันธ์นั้นได้ถูกต้องและชัดเจน                                                                                                                     
จุดประสงค์การเรียนรู้
          ๑. อธิบายความหมายของคำศัพท์ที่กำหนด

          ๒. ตีความคำยากจากนิราศภูเขาทองโดยพิจารณาจากบริบท
          ๓. วิเคราะห์ประเภทของคำพ้องในคำประพันธ์
    ๔.เห็นความสำคัญของการเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้ในคำประพันธ์                                                                  
สาระการเรียนรู้
         ๑. การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบท
         ๒. คำพ้อง
กิจกรรมการเรียนรู้
         ๑. ให้นักเรียนอ่านคำจากบัตรคำที่ครูติดบนกระดานทีละคู่ เช่น
                         จอกแหน                                           หวงแหน
                      ปรากฏการณ์                                        ฤดูกาล
                        สลัดผัก                                             สลัดน้ำ
                     ดวงอาทิตย์                                            ดวงตะวัน
         ๒. ให้นักเรียนสังเกตคำเหล่านั้นและช่วยกันอธิบายตามความเข้าใจ
         ๓. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง คำพ้อง แล้วร่วมกันสรุปความเข้าใจ ครูเป็นผู้อธิบายเพิ่มเติม
         ๔. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๔ กลุ่ม ระดมความคิดเพื่อยกตัวอย่างคำพ้องที่นักเรียนรู้จักแต่ละประเภท ดังนี้
                        กลุ่มที่         คำพ้องรูป
                        กลุ่มที่        คำพ้องเสียง
                        กลุ่มที่        คำพ้องรูปพ้องเสียง
                        กลุ่มที่        คำพ้องความหมาย
         ๕. นักเรียนส่งตัวแทนออกมาเขียนคำที่รวบรวมได้บนกระดาน นักเรียนทุกคนร่วมกันตรวจสอบและอธิบายความหมาย
         ๖. นักเรียนอ่านคำประพันธ์จากนิราศภูเขาทองที่ครูนำมาติดบนกระดาน ช่วยกันพิจารณาคำที่ขีดเส้นใต้ว่าเป็นคำพ้องประเภทใด

                        ๑)     ออกจากวัดทัศนาดูอาวาส                 (คำพ้องความหมาย)
                        ๒)    โอ้อาวาสราชบุรณะพระวิหาร                        (คำพ้องความหมาย)
                        ๓)    จึ่งอำลาอาวาสนิราศร้าง                                   (คำพ้องความหมาย)
                        ๔)    ถึงบางจากจากวัดพลัดพี่น้อง                           (คำพ้องรูปพ้องเสียง)
                        ๕)    จำต้องขืนใจพรากมาจากเมือง                        (คำพ้องความหมาย)          
                        ๖)     ถึงเขมาอารามอร่ามทอง                                  (คำพ้องรูป กับ โกฐเขมา)
                        ๗)    เห็นโศกใหญ่ใกล้น้ำระกำแฝง                        ทั้งรักแซงแซมสวาด *ประหลาดเหลือ
                                  เหมือนโศกพี่ที่ช้ำระกำเจือ                              เพราะรักเรื้อแรมสวาทมาคลาดคลาย
                                  โศก - โศก           ระกำ - ระกำ                        (คำพ้องรูปพ้องเสียง)
                                  สวาด - สวาท                                                      (คำพ้องเสียง)
                        ๘)    ถึงบางหลวงเชิงรากเหมือนจากรัก                สู้เสียศักดิ์สังวาสพระศาสนา
                                  เป็นล่วงพ้นรนราคราคา                                   ถึงนางฟ้าจะให้ไม่ไยดี
                                  (คำพ้องเสียง)
                        ๙)     ด้วยหนามดกรกดาษระดะตา                          นึกก็น่ากลัวหนามขามขามใจ
                                  (คำพ้องความหมาย)
                     ๑๐)      ในทุ่งกว้างเห็นแต่แขมแซมสลอน                (คำพ้องรูปพ้องเสียง กับ แขม (ขะแม))
         ๗. ให้นักเรียนช่วยกันอธิบายความหมายของคำพ้องเหล่านั้น ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม และตรวจสอบจากพจนานุกรม
         . ให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบท แล้วร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
         ๙. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ คือ การเข้าใจประเภทของคำพ้องที่ใช้ในคำประพันธ์ทำให้เข้าใจความหมายของคำศัพท์ได้ชัดเจนขึ้น และการใช้บริบทช่วยพิจารณาความหมายของคำศัพท์บางคำ     ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบความหมายโดยตรงได้จากพจนานุกรม จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำประพันธ์นั้นได้ถูกต้องและชัดเจน
         ๑๐. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า “การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบทมีประโยชน์ต่อการอ่านในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง”
สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
         ๑. บัตรคำ
         ๒. แถบข้อความ
         ๓. พจนานุกรม
         ๔. ใบงาน
การวัดและประเมินผล
   วัดและประเมินผล
          ๑. ตรวจใบงาน เรื่อง การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบท
          ๒. ประเมินจากการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
   เครื่องมือวัดและประเมินผล
          ๑. ใบงาน เรื่อง การตีความคำยากโดยพิจารณาจากบริบท
          ๒. แบบประเมินการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

หน่วย นิราศภูเขาทอง

เรื่อง ปริศนาศัพท์ลับปัญญา                                                                                 เวลา    ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ม. ๑/๔ ระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบและคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่าง ๆ    จากการอ่าน

สาระสำคัญ

   การเข้าใจความหมายของคำศัพท์จะทำให้ศึกษาวรรณคดีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น                                        

จุดประสงค์การเรียนรู้

          ๑. อธิบายความหมายของคำศัพท์ในนิราศภูเขาทอง

          ๒. เขียนคำศัพท์ในนิราศภูเขาทองตามความหมายที่กำหนด

      ๓.เห็นความสำคัญของการเข้าใจความหมายคำศัพท์เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาวรรณคดี                     

สาระการเรียนรู้

          ๑. คำศัพท์ในนิราศภูเขาทอง

กิจกรรมการเรียนรู้

          ๑. นักเรียนร่วมกันสนทนาในหัวข้อ “นักเรียนรู้จักสุนทรภู่อย่างไรบ้าง”

          ๒. ให้นักเรียนอ่านบทนำเรื่องนิราศภูเขาทอง แล้วร่วมกันสนทนาในประเด็นต่อไปนี้

                    - นิราศภูเขาทองเป็นบทประพันธ์ของกวีท่านใด

                    - วรรณคดีที่แต่งเป็นนิราศมีลักษณะเด่นอย่างไร

                    - ที่มาของนิราศภูเขาทองเป็นอย่างไร

                    - นักวรรณคดีเปรียบเทียบนิราศภูเขาทองกับนิราศเมืองแกลงไว้อย่างไร

                    -นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจ หมายความว่าอย่างไร

            ๓. ครูอธิบายเพิ่มเติมและให้นักเรียนบันทึกสาระสำคัญ

            ๔. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๑๐ กลุ่ม แข่งขันค้นหาคำศัพท์จากนิราศภูเขาทองที่มีความหมายตรงกับที่กำหนด ครูแบ่งความหมายให้นักเรียนหาคำศัพท์กลุ่มละ ๕ คำ กลุ่มใดหาคำศัพท์ครบให้พูดพร้อมกันว่า สำเร็จ ครูบันทึกลำดับไว้จนเสร็จครบทุกกลุ่ม

            ๕.  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาอ่านความหมายที่ได้รับพร้อมเฉลยคำศัพท์ นักเรียนทุกคนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องและเขียนคำศัพท์ลงในตารางปริศนาอักษรไขว้ ดำเนินกิจกรรมเช่นนี้จนครบทุกกลุ่ม กลุ่มใดหาคำศัพท์ได้ถูกต้องทุกคำโดยใช้เวลาน้อยที่สุด ๓ อันดับแรก จะได้รับคะแนนพิเศษ

            ๖. ให้นักเรียนรวมกลุ่มให้เหลือ ๕ กลุ่ม ส่งตัวแทนออกมาจับฉลากหัวข้อเพื่อค้นหาและรวบรวมคำศัพท์จากนิราศภูเขาทองเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

                    - ชื่อสัตว์                           - ชื่อพืช                                 - ชื่อสิ่งของเครื่องใช้

                    - ชื่อสิ่งก่อสร้าง               - ชื่อสถานที่

            ๗. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาอ่านชื่อที่รวบรวมได้ให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม

            . ให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ให้ตรงกับภาพที่กำหนด ทุกคนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง

            ๙. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้ การเข้าใจความหมายของคำศัพท์จะทำให้ศึกษาวรรณคดีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

             ๑. ฉลาก

           ๒. พจนานุกรม

การวัดและประเมินผล

   วัดและประเมินผล

          ๑. ตรวจผลงานนักเรียน

          ๒. สังเกตจากการปฏิบัติงานกลุ่ม

   เครื่องมือวัดและประเมินผล

          ๑. ผลงานนักเรียน

          ๒. แบบสังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม